0
ระบุคำค้นหา
HOME
PROMOTIONS
PRODUCTS
TREATMENTS
PROCEDURES
BEAUTY HACKS
Q&A
RC CLUB
ONLINE SHOP
OTHER
What's Hot
Reviews
Branches
Contact Us
News & Activities
Our Doctor
Careers
About Us
Online Shop
|
What's Hot
|
Reviews
|
Branches
|
Contact us
|
Search for:
0
เข้าสู่ระบบ
|
สมัครสมาชิก
HOME
PROMOTIONS
PRODUCTS
TREATMENTS
PROCEDURES
BEAUTY HACKS
Q&A
RC CLUB
HOME
BEAUTY HACKS
ARTICLES
โรคขนคุด Keratosis Pilaris
วันที่ 22 ธ.ค. 2553
| โดย
ราชเทวีคลินิก
ขนคุด หรือ Keratosis Pilaris
คือ สภาวะผิวหนังเกิดการอุดตันในรูขุมขน เส้นขนในบริเวณนั้นไม่สามารถขึ้นมาบนชั้นผิวหนังได้ตามปกติ
ผิวจึงดูไม่เรียบ มีตุ่มนูน หรือตุ่มแดงขึ้นมาจากรูขุมขน สัมผัสแล้วสากมือ สามารถเกิดขึ้นได้ในบริเวรที่มีเส้นขนขึ้น เช่น ต้นแขน ต้นขา ลำตัว สะโพก รักแร้ บางรายพบได้ที่แก้ม
ลักษณะของขนคุด
ลักษณะที่พบจะเป็นตุ่มนูนแข็ง (Keratotic papules) กระจายตามรูขุมขน (Hair follicles) มักพบรอยแดงๆ ล้อมรอบตุ่มเหล่านั้น หรือพบตุ่มแดงเล็กๆตามรูขุมขน ผิวบริเวณนี้ส่วนใหญ่จะแห้งกร้าน หยาบ บางรายมีอาการคันร่วมด้วย และมีอาการมากในช่วงฤดูร้อนหรือฤดูหนาวที่มีความชื้นในอากาศต่ำ เพราะส่งผลให้ผิวแห้งมากขึ้น คันมากขึ้น
สาเหตุของการเกิดขนคุด
เกิดจากการสะสมของเคราติน ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อป้องกันการติดเชื้อในร่างกาย การมีเคราตินผลิตออกมามากเกินไปจึงทำให้เกิดการอุดตันบริเวณรูขุมขน ทำให้เส้นขนไม่สามารถงอกขึ้นมาได้ตามปกติ กลายเป็นเส้นขนที่ฝังอยู่ในผิวหนัง และเกิดจากการมีผิวแห้ง ผิวภูมิแพ้ (Atopic skin) โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง พันธุ์กรรมก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่เกี่ยวข้อง
วิธีการรักษาขนคุด
ใช้ผลิตภัณฑ์ เช่น
Atop KP ครีมบำรุงผิวสูตรเฉพาะ
ที่ช่วยบำรุงผิว เพิ่มความชุ่มชื้น ลดอาการขนคุด อาการผิวแห้งคันสำหรับผิวภูมิแพ้
ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ AHA, BHA หรือ กรดซาลิไซลิก เพื่อลดการอุดตันของรูขุมขน สลายขนคุด ช่วยเรื่องการผลัดเซลล์ผิว ลดการสะสมเคราตินในผิวหนัง อาการขนคุดก็จะค่อยๆ หายไป
ใช้วิตามินเอกลุ่มอนุพันธุ์กรดวิตามินเอ (Retinoic Acid) ที่ใช้ในการรักษาสิว ยากลุ่มนี้จะมีส่วนช่วยกระตุ้นให้เกิดการผลัดเซลล์ผิวใหม่ ช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนของผิวได้ดี จึงทำให้ขนคุดหายได้
การใช้เลเซอร์กำจัดขน เป็นวิธีที่สามารถแก้ปัญหาขนคุดได้อย่างตรงจุด เพราะเป็นการกำจัดเส้นขน ตัดวงจรการเกิดขน ซึ่งทำให้เส้นขนหลุดออกมาเองโดยไม่ต้องถอนออก
วิธีป้องกันการเกิดขนคุด
บำรุงผิวด้วยมอยส์เจอร์ไรเซอร์เป็นประจำ เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวแห้ง ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดขนคุด
หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของน้ำมัน เพราะก่อให้เกิดการอุดตันของรูขุมขนได้ง่าย
เลือกวิธีกำจัดขนที่เหมาะสมโดยการหลีกเลี่ยงการโกน ถอน หรือแว็กซ์ขนรักแร้ เพราะเป็นวิธีที่ทำร้ายผิว
ทำความสะอาดผิวให้สะอาดเพื่อป้องกันการอุดตันในรูขุมขน
สำหรับผู้ที่เป็น Atopic Skin หรือผิวภูมิแพ้ และมีปัญหาขนคุด แนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์ เช่น
Atop KP
ครีมบำรุงผิวสูตรเฉพาะที่ช่วยบำรุงผิว เพิ่มความชุ่มชื้น ลดอาการขนคุด อาการผิวแห้งคันสำหรับผิวภูมิแพ้
ปัจจัยอื่นที่มีความสัมพันธ์กับโรคขนคุด
จะพบขนคุดได้มากขึ้นในคนไข้ Atopic Dermatitle (โรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับโรคภูมิแพ้)
จะพบขนคุดได้บ่อยในคนไข้ Icthyosis Vulgaris (โรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่มีความผิดปกติของการ สร้างเคอราติน และมีผิวแห้งเป็นสะเก็ด)
ในคนไข้โรคศีรษะล้านชนิด Scarring Alopecla จะพบร่วมกับขนคุดได้
ครีมเคลือบผิว
ยาในกลุ่ม Keratolytics เช่น Salicylic Acid, Alpha-hydroxy Acids, Propelene Glycol
โรคนี้มักจะเรื้อรัง โดยเฉพาะโรคขนคุดที่มีความสัมพันธ์กับโรค Icthyosis Vulgaris ส่วนในเด็กที่พบขนคุดบริเวณแก้ม มักจะหายเมื่อโตขึ้น ยังไม่มีวิธีป้องกันใดที่ได้ผลแน่นอน แต่ควรจะตรวจวินิจฉัยและดูแลรักษาโรคที่มีความสัมพันธ์ร่วมกับขนคุด ที่กล่าวไปเบื้องต้น เพื่อรักษาโรคต่างๆ ดังกล่าวร่วมด้วย ไม่มีภาวะแทรกซ้อน
Gallery
คัดลอกแล้ว
5
จาก 1 คน
VIEWS
36089
TAGS:
Atop KP, Icthyosis, Keratolytics, Keratosis Pilaris, vulgaris, โรคขนคุด, ขนลุก, ผิวหนังอับเสบ
ความคิดเห็น
ร่วมแสดงความคิดเห็น
×
Thank You
ขอบคุณค่ะ
ระบบได้รับความคิดเห็นของคุณเรียบร้อยแล้วค่ะ
Related Contents
การนำเสนอครั้งแรก ผู้ป่วย idiopathic primary squamous...
การใช้เครื่องจี้ไฟฟ้ารักษาเนื้องอกท่อต่อมเหงื่อ (Syringoma)
การประเมินประสิทธิผลของการทา 100% dimethy sulfophxide ในการรักษา...
ขอสั้นๆ EP.8-9 - ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับเลเซอร์ Nd:YAG
Infographic ลำดับการทายาหรือผลิตภัณฑ์
คำแนะนำหลังการฉีด MST ด้วย Restylane
เราใช้คุกกี้ (cookie) เพื่อเพิ่มประสบการณ์และความพึงพอใจของท่านในการรับชมเนื้อหาต่างๆ หากท่านใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อ ถือว่าท่านยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมท่านสามารถอ่านได้จาก
นโยบายคุกกี้ของเรา
x