0
ระบุคำค้นหา
HOME
PROMOTIONS
PRODUCTS
TREATMENTS
PROCEDURES
BEAUTY HACKS
Q&A
RC CLUB
ONLINE SHOP
OTHER
What's Hot
Reviews
Branches
Contact Us
News & Activities
Our Doctor
Careers
About Us
Online Shop
|
What's Hot
|
Reviews
|
Branches
|
Contact us
|
Search for:
0
เข้าสู่ระบบ
|
สมัครสมาชิก
HOME
PROMOTIONS
PRODUCTS
TREATMENTS
PROCEDURES
BEAUTY HACKS
Q&A
RC CLUB
HOME
BEAUTY HACKS
ARTICLES
รังแคบนหนังศีรษะ Dandruff
วันที่ 22 ธ.ค. 2553
| โดย
Redlab User
รังแค คือสะเก็ดสีขาวบนเส้นผมหรือหนังศีรษะที่มีการหลุดร่วง มีทั้งลักษณะมันและแห้ง การเป็นรังแคมักไม่หายขาดไม่ถือว่าเป็นโรค แต่ทำให้เกิดความรำคาญและเสียบุคลิกภาพ
รังแคเป็นความผิดปกติของเซลล์หนังศีรษะชั้นบนสุดที่ตายแล้ว มีการแบ่งตัวมากกว่าปกติเกิดการหลุดร่วงง่ายและเร็วกว่าปกติ จึงเห็นเป็นสะเก็ดสีขาวขนาดใหญ่ อาจคันร่วมด้วย มักเป็นทั่วศีรษะ หากสะเก็ดมีสีเหลือง ลักษณะมันและเป็นปื้นหนาๆ จะมีการบวมอักเสบของชั้นผิวหนังซึ่งพบว่าอาจเป็นโรคผิวหนังอักเสบ (Seborrheic dermatitis) มักเป็นเรื้อรัง และมีเชื้อรา Pityrosporum ovale ในปริมาณที่มากกว่าปกติ
ถ้าพบว่ามีปื้นหนาที่หนังของศีรษะ และมีสะเก็ดสีเทาเงินอยู่บริเวณไรผม อาจเป็นรังแคที่เกิดจากโรคสะเก็ดเงินได้ ไม่ทราบแน่ชัดเกิดจากมีการรบกวนต่อมหนังศีรษะ แต่มักพบว่ามีโรคบางอย่างที่มีความความสัมพันธ์กับการเกิดรังแค เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรคที่มีฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์มากกว่าปกติ รวมถึงโรคที่เกี่ยวกับหนังศีรษะ เช่น โรคสะเก็ดเงิน โรคผิวหนังอักเสบ โรคเกล็ดปลา (Ichthyosis) หรือเกิดจากการแพ้สารเคมี เช่น น้ำยาดัดผม น้ำยาย้อมผม การแพ้แชมพู รังแคไม่พบในเด็กเล็ก จะพบในช่วงอายุ 5 ปีขึ้นไปและพบมากในช่วงอายุ 10-30 ปี
วิธีการแก้ไขเบื้องต้น
ใช้แชมพูที่มีตัวยาขจัดรังแค เช่น ซิงค์ไพริไทออน (Zinc pyrithion) และซีลีเนียมซัลไฟด์ (Selenium sulfide) ทั้งสองชนิดนี้จะช่วยลดการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังและช่วยให้ขุยไม่ลอกหลุดเร็วขึ้น
การใช้แชมพูขจัดรังแคควรใช้ตามคำแนะนำข้างขวด โดยปกติจะให้ สระผมสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ทิ้งไว้นาน 5-10 นาที แล้วค่อยล้างออก นอกจากนี้การใช้ตัวยาคีโตโคนาโซล (Ketoconazole) ซึ่งเป็นแชมพูยาฆ่าเชื้อรา จะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราที่ทำให้เกิดรังแคได้ ผู้ที่มีผิวหนังอักเสบชนิด Seborrheic Dermatitis จะมีเชื้อรา Pityrosporum ovale มากกว่าปกติ เชื้อรานี้ไม่ได้ทำให้เกิดรังแคโดยตรง แต่ทำให้เป็นรุนแรงขึ้นเมื่อใช้คีโทโคนาโซล รังแคก็จะดีขึ้น
การป้องกัน
ควรมีการสังเกตว่าหลังมีการสระผมด้วยแชมพูรักษารังแคแล้วกี่วัน จึงเริ่มกลับมามีขุยเกิดขึ้นอีก เมื่อรู้กำหนดเวลาแล้ว ก็ให้สระผมด้วยแชมพูธรรมดาที่เหมาะสมกับสภาพผมตามปกติ ก่อนที่จะเริ่มมีขุยหนึ่งวันไปเรื่อยๆ สลับกับการใช้แชมพูรักษารังแค
ขณะสระผม ควรนวดหนังศีรษะเบาๆ ด้วยปลายนิ้ว เพื่อช่วยขจัดสิ่งตกค้างและกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดที่หนังศีรษะ ไม่ควรเกา เพราะจะทำให้ระคายเคืองต่อหนังศีรษะและเกิดแผลที่หนังศีรษะได้
หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ใส่ผม เช่น เจล มูส สเปรย์ เพราะผลิตภัณฑ์เหล่านี้อาจทำให้เกิดการระคายเคืองและมีการสะสมที่หนังศีรษะทำให้เชื้อรามีการเจริญเติบโตเพิ่มมากขึ้นได้
หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีต่างๆ กับหนังศีรษะ เช่น การโกรกย้อมผม การกัดสีผม เป็นต้น
Gallery
คัดลอกแล้ว
5
จาก 2 คน
VIEWS
30011
TAGS:
Dandruff, Dermatitis, Seborrheic, โรคผิวหนังอักเสบ, ผมร่วง, รักษารังแค, รังแค, หนังศีรษะ
ความคิดเห็น
ร่วมแสดงความคิดเห็น
×
Thank You
ขอบคุณค่ะ
ระบบได้รับความคิดเห็นของคุณเรียบร้อยแล้วค่ะ
Related Contents
ฮาวทูเซฟผิวในช่วงวิกฤตฝุ่น PM 2.5 มหันตภัยร้ายที่อยู่ใกล้เพียงปลายจมูก
กินแอปเปิ้ลรักษาหุ่น
ผื่นอักเสบบริเวณผิวมัน Seborrheic Dermatitis
ฮาวทูเซฟผิวในช่วงวิกฤตฝุ่น PM 2.5 มหันตภัยร้ายที่อยู่ใกล้เพียงปลายจมูก
เคล็ดลับการเปลี่ยนแปลงตัวเองแบบง่ายๆ
ผื่นอักเสบบริเวณผิวมัน Seborrheic Dermatitis
Related Contents
ขอสั้นๆ EP.1 - Nd:YAG กับ Hifu ต่างกันอย่างไร
ปัญหาผิวแผ่นหลังและบั้นท้าย
หยุด 6 พฤติกรรมแย่ๆ แล้วจะไม่แพ้สิว
ผื่นไขมันที่เปลือกตา (Xanthelasma or Xanthomas)
การรักษาแผลเป็นหลุมจากสิว (atrophic scars) โดยใช้วิธีไอออนโตฟอเรซิส...
4 สิ่งหลีกเลี่ยง 4 ข้อแนะนำสำหรับผู้หญิงที่ต้องการดูแลผิวให้ผ่องพิส...
เราใช้คุกกี้ (cookie) เพื่อเพิ่มประสบการณ์และความพึงพอใจของท่านในการรับชมเนื้อหาต่างๆ หากท่านใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อ ถือว่าท่านยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมท่านสามารถอ่านได้จาก
นโยบายคุกกี้ของเรา
x