ผื่นผิวหนังอักเสบที่เกิดจากแมงกะพรุน (Jellyfish Dermatitis)
วันที่ 22 ธ.ค. 2553
| โดย
Redlab User
ในผู้ป่วยส่วนใหญ่ แมงกะพรุนต่อยมักจะทำให้เกิดปฎิกิริยาที่เกิดจากสารพิษของแมงกะพรุน (Toxic reactions) มากกว่าที่จะเป็นปฎิกิริยาภูมิแพ้ (Allergic reactions) สำหรับ Jellyfish Dermatitis เป็นผื่นผิวหนังอักเสบที่เกิดจากการสัมผัสกับหนวดของแมงกะพรุน (Contact dermatitis)
สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของแมงกะพรุนต่อย คือ sea nettles ซึ่งประกอบด้วย 2 สปีชีส์ และทั้งสองสปีชีส์นี้ พบได้ในมหาสมุทรแอตแลนติก และมหาสมุทรแถบอินโดแปซิฟิก
สปีชีส์แรก คือ Cyanca capillata และพวกพ้องของมัน เป็นสปีชีส์ที่ใหญ่ที่กว่า ลักษณะของมัน ประกอบด้วยลำตัวซึ่งมีขนาดใหญ่ถึง 1 เมตร และมีหนวดจำนวนมาก โดยมีความยาว ถึง 30 เมตร
สปีชีส์ที่สอง คือ Chrysaora quinquecirrha เป็นสปีชีส์ที่เล็กกว่า ลักษณะของมันประกอบด้วยลำตัวสีขาว หรือสีสนิม ซึ่งมีขนาดถึง 30 เซนติเมตร และมีหนวด 4 เส้น
เริ่มแรกผู้ป่วยจะมีอาการปวดแสบปวดร้อนเหมือนโดนอะไรไหม้ขึ้นมาทันที (Sharp burning pain) ตรงบริเวณที่สัมผัสกับหนวดของแมงกะพรุน ต่อมาภายในเวลาเป็นนาที ตรงบริเวณที่สัมผัสนั้นจะมีรอยโรค ซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นซิกแซกนูนแดงหลายๆ เส้นเกิดขึ้น โดยมีความกว้าง 2-3 มิลลิเมตร ช่วงระยะเวลาของอาการปวดไม่แน่นอน แต่ที่พบบ่อยมักจะเริ่มหายไปในเวลา 30 นาที ส่วนอาการบวมมักจะหายไปในเวลา 1 ชั่วโมง แต่ตรงบริเวณที่สัมผัสกับหนวดของแมงกะพรุนนี้ จะมีจุดเลือดออกสีน้ำตาลม่วง และรอยสีน้ำตาลเหลืออยู่ ซึ่งจะมีให้เห็น ไปอีกหลายวัน สำหรับแมงกะพรุนชนิดนี้ ยังไม่เคยมีรายงานว่า ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต
ในบรรดาสปีชีส์ทั้งหมด ของแมงกะพรุนที่ทำให้เกิดอาการปวดเมื่อถูกมันต่อย และมีการจดบันทึกไว้ว่าเป็นสาเหตุ ที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตมากที่สุด ก็คือ box jellyfish ชื่อ Chironex fleckeri ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1884 มีผู้ป่วยที่ อาศัยอยู่ในแถบมหาสมุทรอินโดแปซิฟิกเสียชีวิตอย่างน้อย 55 ราย โดย 40 ราย เป็นผู้ป่วยที่อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทางตอนเหนือของประเทศออสเตรเลีย และในประเทศออสเตรเลียมีการตายด้วยสาเหตุนี้ อย่างน้อย 1 ราย ในแต่ละปี และผู้ป่วยที่เสียชีวิตมักจะเป็นเด็ก
C. fleckeri เป็นสปีชีส์ที่มีการพัฒนามากกว่าสปีชีส์อื่นๆ ประกอบด้วยลำตัวซึ่งมีขนาดปริมาตรโตได้ถึง 9 ลิตร และมีน้ำหนักมากกว่า 6 กิโลกรัม และมีหนวดมากถึง 60 เส้น โดยมีความยาว 2-3 เมตร เมื่อมีคนเข้ามาสัมผัสกับแมงกะพรุนชนิดนี้ ก็จะมีหนวดของมันจำนวนหนึ่งฉีกขาดออกและเกาะติดกับผิวหนังของคนคนนั้น ผู้ที่เข้ามาช่วยเหลือผู้ป่วยที่ถูกแมงกะพรุนชนิดนี้ต่อย ก็จะต้องระมัดระวังอย่างมาก เนื่องจากเขาก็มีความเสี่ยงที่จะถูกต่อยเช่นกันจนกว่าหนวดของแมงกะพรุนจะถูกทำลาย และเอาออกไปเสียก่อน รอยโรคที่เกิดจากแมงกะพรุนชนิดนี้ จะมีลักษณะที่เฉพาะของมัน ก็คือ มีลักษณะที่คล้ายกับบันได ผู้ป่วยที่มีสติสัมปชัญญะดี จะบอกว่ามีอาการปวดอย่างมากขึ้นทันที และอาการปวดนี้จะเป็นอยู่นานหลายชั่วโมง บริเวณผิวหนังที่ถูกต่อยอย่างรุนแรงจะมีลักษณะเป็นสีเขียวคล้ำ แบบขาดเลือดไปเลี้ยง และอาจจะเกิดเป็นตุ่มน้ำ และเนื้อเยื่อบริเวณนั้นตายได้ การหายจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ และอาจจะมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนได้ นอกจากนี้แผลเป็นถาวรก็พบได้บ่อย
ถ้าผู้ป่วยมีการสัมผัสกับหนวด ที่มีความยาวมากกว่าหรือเท่ากับ 6 เมตร ผู้ป่วยจะเสียชีวิตภายในเวลาเป็นนาที จากการศึกษาพบว่าแมงกะพรุนชนิดนี้มีสารพิษที่มีผลทำให้ผิวหนังตาย เนื่องจากการขาดเลือดไปเลี้ยงได้ ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกในกระแสเลือดซึ่งจะทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้ มีผลต่อหัวใจทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ และหัวใจหยุดเต้นได้ และมีผลต่อระบบประสาททำให้การหายใจล้มเหลวได้
- ทายาชาเฉพาะที่ ซึ่งอาจจะเป็นขี้ผึ้ง ครีม โลชั่น หรือ สเปรย์ เพื่อลดอาการคัน หรืออาการปวดแสบปวดร้อน แต่ ควรหลีกเลี่ยงพวกที่มี benzocaine เป็นส่วนผสม เนื่องจากมีโอกาสที่จะทำให้เกิดผื่นผิวหนังอักเสบจากการสับผัสได้
- ทาพวกคอติโคสเตียรอยด์ตรงบริเวณรอยโรค และถ้าจำเป็นก็อาจจะให้ทานพวกคอติโคสเตียรอยด์
- ทานพวกแอนตี้ฮีสตามีน เพื่อลดอาการคัน
- ถ้ามีบาลแผล ให้ทำความสะอาดแผลวันละ 3 ครั้ง โดยทายาฆ่าเชื้อ (Antiseptic) หรือ ยาปฏิชีวนะ (Antibiotic) ซึ่งอาจจะเป็นครีมหรือขี้ผึ้งก็ตาม และปิดแผลไว้
- ถ้ามีการติดเชื้อแทรกซ้อน ให้การรักษาด้วยการฉีดยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม
- ถ้ามีข้อบ่งชี้ ก็อาจจะให้การรักษาเพื่อป้องกันการเกิดบาดทะยักด้วย
- การประคบด้วยน้ำแข็ง หรือความเย็นจะช่วยลดอาการปวดที่ไม่รุนแรงได้
- Aspirin หรือ Acetaminophen อย่างเดียว หรือให้ร่วมกับ