รักษารอยแผลเป็นและรอยแตกลาย
วันที่ 01 ก.ย. 2561
| โดย
ราชเทวีคลินิก
แผลเป็น รอยแตกลาย ที่เป็นมานานมากแล้วรักษาหายไหม
แผลเป็นและรอยแตกลายที่เป็นมานานมากไม่เคยคิดรักษา แต่ตอนนี้อยากจะใส่ชุดว่ายน้ำ ใส่บิกินี่ขึ้นมา จะรักษาหายไหม
สาวๆ หลายคนกังวลกับรอยแผลเป็นที่ได้มาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งแผลเป็นที่ได้มาจากการผ่าตัด อุบัติเหตุ หรือรอยแตกลายจากการตั้งครรภ์ หรือน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นและลดลงอย่างรวดเร็ว บางคนคอยรักษามาตลอดตั้งแต่แผลเริ่มหาย ตั้งแต่เริ่มลาย แต่ในบางรายอย่างเคสนี้เป็นมานานมากเกิน 10 ปี ไม่เคยคิดรักษา แต่ตอนนี้อยากจะใส่ชุดว่ายน้ำใส่บิกินี่ขึ้นมา เห็นชัดมาก จะรักษาหายไหม?
แผลเป็นที่เป็นมานานแล้วก็สามารถรักษาให้ดีขึ้นได้ ซึ่งการรักษาก็มีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับประเภทของแผลเป็น
1. แผลเป็นหลุม (Hypotrophic Scar)
เกิดจากการยุบตัวลงของผิว มีลักษณะเป็นร่อง หรือรู เช่นแผลเป็นหลุมสิว แผลเป็นจากโรคสุกใส (Chicken Pox)
2. แผลเป็นนูนและแผลเป็นคีลอยด์ (Hypertrophic Scar and Keloids)
- แผลเป็นนูน (Hypertrophic Scar) มักจะเกิดกับแผลผ่าตัด เย็บแผล หรือแผลจากอุบัติเหตุ โดยแผลเป็นจะมีลักษณะรูปร่างและขนาดพอๆ กับแผลต้นเหตุ ลักษณะจะนูนเหนือผิวปกติ สีน้ำตาล หรือสีแดง
- แผลเป็นคีลอยด์ (Keloid) เกิดจากการสร้างคอลลาเจนมากเกินกว่าปกติ พบบ่อยที่บริเวณหัวไหล่ ใบหู ติ่งหู หน้าอก เช่น บาดแผลจากการเป็นสิว การฉีดวัคซีน เจาะหู และแผลผ่าตัดต่างๆ ลักษณะจะนูนเป็นเม็ดหรือก้อน สีน้ำตาลแดง แข็ง ยืดหยุ่นคล้ายยาง ผิวมัน บางครั้งมีอาการเจ็บ คัน รูปร่างและลักษณะจะนูนและมีขอบเขตกว้างกว่าแผลต้นเหตุ
3. รอยแตกลาย (Stretch Marks)
พบได้บ่อยบริเวณหน้าท้อง ต้นแขน ต้นขา สะโพก น่อง ซึ่งเกิดจากการที่ผิวหนังมีการยืดขยายตัวอย่างรวดเร็ว ช่วงที่กำลังเข้าสู่วัยรุ่น หญิงตั้งครรภ์ หรือผู้ที่มีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ลักษณะของผิวจะแตกเป็นเส้นยาวเรียงขนานกัน
มีวิธีการไหนที่ใช้รักษาแผลเป็นบ้าง
- ผ่าตัด (Excision) เพื่อเอาแผลเป็นออกแล้วเย็บใหม่ ใช้กับแผลเป็นหลุม แผลเป็นนูนและแผลเป็นคีลอยด์ อาจจะร่วมกับวิธีอี่นเช่น การฉายแสง การฉีดยา เป็นต้น
- ฉีดยา (Injection) สามารถฉีดยาเข้าไปในตัวแผลเป็นเพื่อให้แผลเป็นยุบลงได้ ใช้กับแผลเป็นนูน และแผลเป็นคีลอยด์
- ฉีดสารเติมเต็ม (Filler) สำหรับแผลเป็นชนิดที่เป็นหลุม สามารถใช้วิธีการฉีดสารเติมเต็มได้
- ฉายรังสี (Radiation) ใช้กับแผลเป็นคีลอยด์ โดยทำหลังการผ่าตัด
- การรักษาด้วยเลเซอร์ (Lasers) ปัจจุบันมีการพัฒนา และนำเลเซอร์หลายชนิดมาใช้เพื่อรักษาแผลเป็นชนิดต่างๆ ทั้งแผลเป็นหลุม รอยแตกลาย โดยผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ
- กรอผิว (Dermabrasion) แผลเป็นหลุม รอยแตกลาย สามารถแก้โดยใช้วิธีการกรอผิวได้
- ลอกด้วยสารเคมี (Chemical Peel) แผลเป็นหลุม สามารถแก้โดยใช้วิธีการลอกด้วยสารเคมีได้เช่นกัน
สำหรับใครที่กำลังกังวลกับแผลเป็นของตัวเองอยู่ อ่านคำตอบของคุณหมอแล้วน่าจะโล่งใจไปได้นิดนึง เพราะไม่ว่าคุณจะเป็นแผลเป็นมานานขนาดไหน ก็สามารถรักษาให้ดูดีขึ้น หรือบรรเทาเบาบางลงได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การรักษาต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเฉพาทาง ดังที่ได้ทราบกันไปแล้วว่าการรักษาแผลเป็นนั้นมีหลากหลายวิธี แต่วิธีใดจะเหมาะสมและได้ผลดีที่สุด ควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจดูเบื้องต้นก่อน เพื่อจะได้เลือกวิธีการรักษาที่ถูกต้องตรงจุด และเหมาะสมที่สุด
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
รักษาแผลเป็นนูน คีลอยด์ (Keloid)
TAGS:
Keloid, Scar, Stretch Marks, แผลเป็น, แผลเป็นคีลอยด์, แผลเป็นนูน, แผลเป็นผ่าตัด, แผลเป็นหลุม, แผลผ่าตัด, ขาลาย, ท้องลาย, รอยแตกลาย, รักษาแผลเป็น, หลุมสิว