แผลติดเชื้อแบคทีเรีย (Impetigo)
วันที่ 22 ธ.ค. 2553 | โดย Redlab User


เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียในชั้นหนังกำพร้า โดยได้รับเชื้อมาจากผู้สัมผัส หรือ จากการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนบน เมื่อเกิดรอยข่วน หรือรอยถลอกที่ผิวหนัง แม้แต่เพียงเล็กน้อยก็สามารถเกิดการติดเชื้อที่ผิวหนังได้ โดยเฉพาะในเด็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
เกิดจากเชื้อ Streptococcus group A หรือ Staphylococcus aureus หรือทั้ง 2 กลุ่ม

ลักษณะของโรค
แบ่งออกได้ตามลักษณะทางคลินิกเป็น 2 ชนิด คือ
  1. Impetigo contagiosa : เกิดจาก Strep. Gr. A โดยเฉพาะ typ 49, 52, 53 โรคนี้มักเป็นในเด็ก และติดต่อกันง่าย
    รอยโรคในระยะแรก : จะปรากฎเป็นตุ่มหนองตื้นๆ ที่ผิวหนังอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มักพบบริเวณใบหน้า แขน ขา ต่อมาตุ่มหนองแตกออก กลายเป็นรอยถลอกตื้นๆ ซึ่งมีสะเก็ดหนองคลุมอยู่บนผิว รอยโรคอาจรวมกันเป็นปื้นใหญ่ และขยายออก และอาจจะมี autoinoculation ทำให้เกิดรอยโรคใหม่ๆ กระจายออกไปในบริเวณใกล้เคียง ต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียงอาจโตได้ แผลจะหายโดยไม่ทิ้งแผลเป็นไว้
  2. Bullous impetigo : เกิดจากการติดเชื้อ Stap. Aureus gr.2 typ 71 จะมี Epidermolytic toxin ทำให้เกิดเป็นตุ่มพองขนาดใหญ่เฉพาะที่ ภายในมีน้ำใส ต่อมาจะเริ่มขุ่นเป็นหนอง บางตุ่มแตกออกมีน้ำเหลืองแหงติดอยู่บนแผล ส่วนใหญ่ไม่มีอาการตามระบบ


  • ทำความสะอาดแผลด้วยน้ำยา Burow หรือน้ำเกลือ วันละ 2-3 ครั้ง จนแผลแห้ง
  • ถ้าอาการไม่รุนแรง ใช้ยาปฏิชีวนะเฉพาะที่ เช่น mupirocin ทาวันละ 2-3 ครั้ง ได้ผลดีใกล้เคียงกับการรับประทานยา
  • ถ้าอาการรุนแรง ใช้ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทาน เพื่อหวังฆ่าเชื้อโรคที่อาศัยอยู่ในระบบทางเดินหายใจ ยาที่เลือกใช้ คือ กลุ่ม cloxacilin, dicloxacillin ถ้ามีประวัติแพ้ penicilin อาจเลือกใช้ Erythromycin


  1. อาศัยลักษณะทางคลินิก
  2. ทางห้องปฏิบัติการ - ย้อมสีแกรมจากหนองเพื่อดูเชื้อ และเพาะเชื้อเพื่อยืนยัน



    ควรให้ผู้ป่วยรักษาสุขลักษณะทั่วไป และระวังอย่าให้เล็บยาว และสกปรก หลีกเลี่ยงการสัมผัสโรค

คัดลอกแล้ว
จาก 0 คน
VIEWS
41831