หูด (Warts)
วันที่ 22 ธ.ค. 2553 | โดย Redlab User


หูดเกิดจากการติดเชื้อไวรัส (Papillomavirus) ทำให้เกิดเนื้องอกของผิวหนัง และเยื่อเมือก (Mucosa) โรคนี้ไม่มีอาการใดๆ
  • หูดเกิดจาก Human Papillomaviruses (HPV) โดยเชื้อนี้ผ่านเข้าสู่พื้นผิวของชั้นผิวหนังที่มีบาดแผล หรือร่องรอยการถลอก
     
  • ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ สภาวะภูมิคุ้มกัน และกรรมพันธุ์ (Genetic susceptibility)
ลักษณะของโรค
หูดมีหลายลักษณะขึ้นอยู่กับบริเวณที่เป็น ยกตัวอย่าง เช่น
  1. หูดราบ (Flat Wart) เป็นตุ่มนูนจากผิวหนังเล็กน้อย ขนาด 2 ถึง 4 มิลลิเมตร
     
  2. หูดธรรมดา (Common Wart) เป็นจุด หรือตุ่มนูน ผิวขรุขระ
     
  3. หูดที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ซึ่งลักษณะคล้ายหูดธรรมดา
     
  4. หูดที่อวัยวะเพศ หรือทวารหนัก (Condylomata Accuminata) ลักษณะเป็นติ่งเนื้อ หรือก้อนเนื้อนูน
     
  5. หูดที่ช่องปาก อาจอยู่ที่ริมฝีปาก เพดานปาก ลิ้น หรือกระพุ้งแก้ม ลักษณะเป็นติ่งเนื้อเล็กๆ นิ่ม สีชมพูหรือขาว
และยังมีหูดประเภทที่มองจากภายนอกไม่เห็น ได้แก่ หูดของระบบทางเดินหายใจ และกล่องเสียง พบในเด็กทารก ซึ่งติดขณะคลอดจากมารดาที่มีหูดที่อวัยวะเพศ

ขึ้นอยู่กับผู้ป่วย, ขนาด และระยะเวลาของโรค, สภาวะภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย ได้แก่
  1. ทำลายเนื้อหูด โดยใช้ความเย็น (Cryotherapy) ด้วย ไนโตรเจนเหลว, กรดซาลิไซลิก, กรดแลคติค, กรดไตรคลอโรอะซิติก, กรดเรติโนอิก หรือตัดเนื้อหูดออก
     
  2. DNCB (Ditrochlorobenzene)
     
  3. ยาทา ได้แก่ Podophyllin, 5-Fluorouracil, ยาฉีด Bleomycin
     
  4. Interferon
พยากรณ์โรค
ไวรัสที่ทำให้เกิดหูด บางชนิดมีแนวโน้มว่าอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็งได้



คัดลอกแล้ว
จาก 1 คน
VIEWS
36894