สิวเสี้ยน (Trichostasis Spinulosa)
วันที่ 22 ธ.ค. 2553 | โดย Redlab User
สิวเสี้ยน ปัญหาที่พบได้บ่อย มีลักษณะเป็นจุดดำๆ หรือมีหนามแหลมๆยื่นออกมาทางขุมขนบริเวณจมูก หน้าผาก หรือข้างแก้ม พบได้บ่อยในวัยรุ่น ตลอดจนวัยกลางคน หรือสูงอายุก็พบได้

พยาธิสภาพ
  • การเกิดของสิวเสี้ยนนี้ คล้ายคลึงกับสิวที่เกิดตามธรรมชาติ กล่าวคือ มักจะเกิดบริเวณที่มีต่อมไขมันมาก โดยจะเริ่มจาก มีการอุดตันเกิดขึ้นที่ท่อต่อมไขมัน และไขมันที่ถูกสร้างขึ้นจะรวมตัวกับเซลล์ชั้นขี้ไคลจากผนังท่อ กลายเป็นก้อนที่เรียกว่า Comedone (คอมีโดน)
     
  • ลักษณะสำคัญของสิวเสี้ยน ที่ต่างจากสิวธรรมดา คือ นอกจากจะมีการอุดตันของไขมัน หรือคอมีโดน เป็นก้อนขาวๆแล้ว ยังมีขนที่คุดคู้อยู่ข้างใน เรียกว่า ในรูขุมขนแทนที่จะมีขนเพียง 1 เส้น แต่กลับมีขนเส้นเล็กๆ 3-4 เส้น อัดกันแน่น รวมตัวกับเซลล์ชั้นขี้ไคล และถูกห่อหุ้มด้วยผนังท่อต่อมไขมัน เกิดการอุดตัน ทำให้การหลุดร่วงของเส้นขนเล็กๆไม่เป็นไปตามปรกติ
     
  • ในบางครั้งอาจพบเส้นขนเล็กๆมากกว่า 80 เส้น อยู่รวมกันในรูขุมขน ทำให้นอกจากมีลักษณะเป็นจุดดำๆ แล้วยังมีหนามแหลมๆ ยื่นออกมา มองเห็นได้ชัดเจน โดยเฉพาะเวลาใช้มือคลำจะรู้สึกสะดุดเป็นหนาม

  1. ฮอร์โมนเพศในร่างกาย ซึ่งมีผลกระตุ้นต่อมไขมัน ให้ทำงานมากขึ้น ผลิตไขมันออกมามาก ส่งเสริมให้เกิดการอุดตันได้ง่ายขึ้น
     
  2. การรบกวนผิวมากๆ เช่น การเช็ดถูหน้าแรงๆ, การขัดหรือนวดหน้า การเช็ดถูนั้น ยิ่งทำให้รูขุมขน หรือรากขนนั้นแตก ขนจึงมีสิทธิ์ที่จะคุดอยู่ข้างในได้เพิ่มมากขึ้น กลายเป็นหนามแหลมๆทั้งใบหน้าได้
ลักษณะของโรค
  • จุดดำๆ หรือ เป็นหนามแหลมๆ เวลาคลำจะสะดุด
     
  • บางครั้งไม่เห็นเป็นจุดสีดำ แต่เป็นหนามแหลมๆ ขาว พบมากบริเวณจมูก หน้าผาก บริเวณแก้มข้างจมูก และบริเวณคาง และอาจพบทั่วบริเวณใบหน้าได้


  1. การใช้ยาทา : ที่มีบทบาทมากในการรักษาสิวเสี้ยน คือ
    - กรดวิตามินเอ ซึ่งมีคุณสมบัติในการเข้าไปละลายการอุดตันของต่อมไขมัน แต่มีข้อจำกัดเนื่องจาก กรดวิตามินเอ มีแนวโน้มที่จะทำให้ผิวแห้ง ผิวลอก หน้าแดงได้ จึงแนะนำให้คนไข้ ทากรดวิตามินเอเฉพาะบริเวณจมูก หน้าผาก หรือคางที่มีสิวเสี้ยน แล้วทิ้งไว้ 5-10 นาที หรืออาจทิ้งไว้นานกว่านี้ได้ ถ้าคนไข้ที่มีผิวมันและรับยาได้ดี แล้วจึงค่อยให้คนไข้ล้างหน้าออกเช่นเดียวกัน
    - ในปัจจุบัน มีการพัฒนาคุณภาพยา โดยใช้ ไลโบโซม ซึ่งลดการระคายเคืองของกรดวิตามินเอ ทำให้สามารถทาทิ้งไว้ทั้งคืนได้ สะดวกในการใช้มากขึ้น
     
  2. การใช้กรรมวิธีเสริมในการรักษาสิวเสี้ยน
    - นอกจากการใช้กรดวิตามินเอ ทาละลายหัวสิวแล้ว จะแก้ปัญหาในเรื่องไขมันขาวๆ ที่ออกมา แต่ขนที่คุดหงิกงอเป็นเส้นดำๆ อยู่ใต้ผิวนั้นจะไม่ยอมหลุด จึงต้องมีกรรมวิธีพิเศษในการลอกสิวเสี้ยน M.C.P. (Mechanical Chemical Peeling) โดยใช้น้ำยาพิเศษที่ไม่ระคายเคืองผิวหน้า ทาบริเวณที่เป็น ปิดทับด้วย พลาสเตอร์ รอ 2-3 นาที เพื่อให้ตัวยาซึมเข้าไปจับกับรากขน เมื่อดึงพลาสเตอร์ออก ขนนั้นก็จะหลุดออกมาอย่างง่ายดาย หลังจากนั้น จำเป็นต้องทาครีมบำรุงผิว เพื่อลดการระคายเคือง หรือการอักเสบที่จะเกิดตามด้วย


ลักษณะอาการแสดงทางคลินิก

ภาวะดังกล่าวสามารถรักษาให้ทุเลาลงได้ หากผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ถูกต้อง เหมาะสม และหลีกเลี่ยงการรบกวนผิว

ไม่มีความสัมพันธ์กับโรคอื่น นอกจากเป็นปัญหาในด้านความสวยงาม

การดำเนินโรค
หากหลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดการอุดตัน เช่นการรบกวนผิว โรคก็ไม่ลุกลามเพิ่มขึ้น
คัดลอกแล้ว
จาก 0 คน
VIEWS
27440