สะเก็ดเงิน Psoriasis
วันที่ 22 ธ.ค. 2553 | โดย Redlab User


เป็นโรคผิวหนังที่พบได้ค่อนข้างบ่อย มีลักษณะเป็นผื่นแดงนูน, แห้ง และมักมีสะเก็ดสีเงินอยู่บนผื่นนั้น ในส่วนมากจะเป็นแล้วหายเป็นช่วงๆ พบได้บ่อยพอสมควรประมาณ 8 ใน 10,000 คน ส่วนใหญ่พบในช่วงอายุ 15-35 ปี โรคนี้ไม่ติดต่อ
  • ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด
  • พันธุกรรมเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่ส่งเสริมให้เกิด
ลักษณะของโรค
  • ผื่นแดงนูน มักมีสะเก็ดสีเงิน บางครั้งมีตุ่มหนองอยู่บนผื่นได้
  • ผื่นมีขนาดได้ต่างกัน ตั้งแต่เล็กกว่า 1 ซม. จนถึงใหญ่กว่า 1 ซม.
  • มักอยู่แยกเป็นผื่นเดี่ยวๆ และอาจจะคันได้
  • พบบ่อยตามลำตัว, ข้อศอก, ข้อเข่า, หนังศีรษะ, รอยพับของผิวหนัง, ปลายนิ้ว , หรืออาจเป็นได้ทุกๆส่วนของผิวหนัง
อาการอื่นที่มักพบร่วมกับผื่น ได้แก่
  • เล็บมีลักษณะผิดปกติ
  • แสบ, คัน ในดวงตา อาจมีขี้ตาได้
  • น้ำตาไหลมากขึ้น
  • พบผื่นที่อวัยวะเพศชายได้
ปัจจัยที่กระตุ้นทำให้เกิดผื่นง่ายขึ้น
  • การระคายเคือง หรือบาดเจ็บของผิวหนัง เช่น มีดบาด, แมลงกัดต่อย
  • อาการจะรุนแรงมากขึ้นในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน, ผู้ป่วย AIDS, ในผู้ป่วยโรค AUTOIMMUNE เช่น โรครูมาตอยด์ (RHEUMATOID), โรคจูปัส (JUPUS)
  • การได้รับยาบางชนิด
  • การติดเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย
  • อื่นๆ เช่น ดื่มสุราจัด, ความอ้วน, ภาวะไม่ถูกแสงแดด, ภาวะแสงแดดเผาไหม้ผิว, ความเครียด, สุขภาพไม่แข็งแรง, อากาศเย็น, การเสียดสีผิวหนังบ่อยๆ


โดยส่วนใหญ่มักจะเน้นในการควบคุมอาการ และการป้องกันการติดเชื้อซ้ำซ้อน และวิธีรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค ในรายที่เป็นไม่รุนแรง ไม่จำเป็นต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล มักได้รับยาซึ่งส่วนใหญ่เป็นยาทาเองที่บ้าน ยาที่ได้รับมักอยู่ในประเภท
  • แชมพู สำหรับรังแค
  • ครีม หรือแชมพูที่ผสม COAL TAR
  • สเตียรอยด์ครีม
  • ครีมเคลือบหล่อลื่นผิว
  • ถ้ามีการติดเชื้ออื่นซ้ำซ้อน อาจได้รับยาปฏิชีวนะ
  • หรืออาจได้รับการรักษาโดยใช้แสง [ได้ทั้งแสงแดดปกติ หรือแสงยูวี (UV - ULTRAVIOLET)] โดยอาจจะทายาที่ผสม COAL TAR หรือกินยา PSORALEN (เป็นยาที่ทำให้ผิวหนังไวต่อแสงมากขึ้น) การรักษาโดยการฉายแสงต้องฉายในปริมาณที่เหมาะสม ระวังการเกิดภาวะผิวหนังไหม้จากแสง เพราะจะทำให้เป็นผื่นง่ายขึ้น
  • การพยายามรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอมีส่วนทำให้การเกิดผื่นลดลง, พยายามพักผ่อนให้เพียงพอ, ออกกำลังกายสม่ำเสมอ, รับประทานอาหารให้ครบถ้วนสมดุล และหลีกเลี่ยงความเครียด
  • พยายามรักษาความสะอาดของผิวหนัง เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำซ้อน, หลีกเลี่ยงการถู, ขัด บริเวณผิวหนัง เพราะจะทำให้เกิดผื่นมากขึ้น
  • ในรายที่รุนแรง : มักจะเป็นเกือบทั้งตัวหรือทั่วตัว ควรเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ผู้ป่วยอาจเจ็บปวดแผล เนื่องจากมีการแตกปริของผิวหนัง, สูญเสียน้ำมาก และมีโอกาสติดเชื้อซ้ำซ้อนมาก ซึ่งอาจจะทำให้เชื้อเข้าสู่อวัยวะภายในได้มากขึ้น ทำให้มีอันตรายถึงแก่ชีวิต ผู้ป่วยมักได้รับน้ำเกลือทางเส้นเลือด, ยาปฏิชีวนะและยาอื่นๆตามแต่อาการ

การวินิฉัย
ทำการตัดชิ้นเนื้อบริเวณผื่นไปตรวจ


โรคนี้มักจะเรื้อรังตลอดชีวิตแต่ก็สามารถควบคุมได้โดยการดูแลรักษา ส่วนใหญ่โรคนี้จะไม่ทำให้สุขภาพทั่วไปแย่ลงถ้าไม่ละเลยในการดูแล แต่ถ้าเป็นในเด็กมากๆ หรือคนชราก็อาจจะทำให้สุขภาพโดยทั่วไปแย่ลงได้



ยังไม่มีการป้องกันใดที่ได้ผลแน่นอน การหลีกเลี่ยงปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้น สามารถทำให้การเกิดผื่นลดลงได้
  • มะเร็งผิวหนัง
  • ผิวหนังแก่ก่อนวัย
  • ต้อกระจก

 

คัดลอกแล้ว
จาก 0 คน
VIEWS
19823
TAGS: