รอยแผลเป็นแบบคีลอยด์ (Keliod)
วันที่ 22 ธ.ค. 2553 | โดย Redlab User


แผลเป็นคีลอยด์ (Keliod) มีลักษณะเป็นรอยนูนแข็ง คล้ายกับแผลเป็นชนิดนูน (Hypertrophic scar) แต่มีข้อแตกต่างกันตรงที่แผลเป็นคีลอยด์ สามารถขยายใหญ่ขึ้นได้เรื่อยๆ เกินขอบแผลเดิมที่มีอยู่ มิหนำซ้ำ อาจแตกออกเป็นแผลได้อีกด้วย ทั้งยังมีอาการคันร่วมด้วยได้ พบได้บ่อยตั้งแต่ระยะวัยรุ่น จนถึงอายุ 30 ปี โดยมักพบในคนผิวดำมากกว่าผิวขาว ไม่ว่าผู้หญิง หรือผู้ชายก็มีสิทธิ์เป็นได้เท่าๆ กัน
  • อาจเกิดตามหลังการบาดเจ็บของผิวหนังหรือเกิดขึ้นเอง เกี่ยวข้องกับเชื้อชาติเหมือนที่กล่าวมา นอกจากนี้ มักสัมพันธ์กับตำแหน่งที่ได้รับบาดเจ็บอีกด้วย ตำแหน่งที่มีแรงตึงผิวสูงจะมีโอกาสเกิดได้ง่ายขึ้น อย่างบริเวณหน้าอก ซึ่งอาจเห็นเป็นรูปดัมเบลล์ยกน้ำหนัก(Dumbbell Shape) บริเวณหัวไหล่ เป็นต้น
  • นอกจากนี้ยังเชื่อว่ายังมีปัจจัยอื่นๆที่ส่งเสริมให้เกิดแผลเป็นคีลอยด์ได้ง่าย เช่น การมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในแผล การเย็บแผลตึงเกินไป แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกมีโอกาสเกิดแผลเป็นคีลอยด์ได้ง่ายกว่าแผลถลอกหรือแผลผ่าตัดทั่วไป รวมทั้งกรรมพันธุ์ ซึ่งเชื่อว่าผู้ที่มีประวัติแผลเป็นคีลอยด์ในครอบครัว จะมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดแผลเป็นชนิดนี้ได้ง่ายกว่าคนทั่วไป


  1. ฉีดยาจำพวกคอร์ติโคสเตียรอยด์ เข้าไปบริเวณแผล (40% Triamcinolone acetonide) ทุก 3-4 สัปดาห์ จนกระทั่งแผลยุบลง เพื่อให้แผลแบนราบลง ทั้งยังลดอาการคันและการขยายใหญ่ขึ้นของแผลได้อีกด้วย
  2. ผ่าตัด เหมาะสำหรับแผลเป็นคีลอยด์ที่มีขนาดใหญ่ แต่อย่างไรเสียหลังผ่าตัดกลับมาเป็นใหม่ โดยการฉีดยาคอร์ติโคสเตียรอยด์บริเวณแผล หลังการผ่าตัด
 
อย่างไรเสีย ผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดแผลเป็นคีลอยด์ จึงควรหลีกเลี่ยงการผ่าตัดที่ไม่จำเป็นหรือกรณีที่จำเป็นต้องผ่าตัด อาจป้องกันได้โดยการกดทับบริเวณแผล อย่าง การใช้แผ่นซิลิโคน (Silicone Sheet) ติดบริเวณแผลหลังการผ่าตัด เป็นต้น

คลิกอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคนิคการรักษาแผลเป็นนูน ด้วย Scarless Technique ได้ที่นี่





คัดลอกแล้ว
จาก 0 คน
VIEWS
31882