รอบรู้เรื่อง Vitamin A
วันที่ 22 ธ.ค. 2553 | โดย ราชเทวีคลินิก
Article รอบรู้เรื่อง vitamin a

Vitamin A เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน (Fat Soluble Vitamin) ในธรรมชาติพบอยู่ 2 รูป ได้แก่
  • Vitamin A1 หรือ Vetinol พบมากในเนื้อเยื่อสัตว์ดูดนมและปลาน้ำเค็ม
  • Vitamin A2 หรือ 3 -dehydroretinol พบมากในปลาน้ำจืด
ทั้ง A1 และ A2 จะพบเฉพาะในสัตว์ (provitamin A) ในพืช Vitamin A อยู่ในรูปขอบ carotenoid ที่สำคัญคือ -carotene ซึ่งจะถูกเปลี่ยนแปลงได้เป็น retinol 2 โมเลกุล และ retinol สามารถถูกออกซิไดซ์ต่อไปเป็น retinal และ retinoic acid ได้ ซึ่งทั้งหมดเป็นสารออกฤทธิ์ของ Vitamin A


Article รอบรู้เรื่อง vitamin a

แหล่งอาหารอุดม Vitamin A
  • Vitamin A - น้ำมันตับปลา ตับของสัตว์อื่นๆ เนย นม ไข่
  • Provitamin A - แครอท ผักผลไม้สีเหลือง หรือ เขียวแก่

หน้าที่ของ Vitamin A
  1. เสริมการเจริญเติบโต
  2. คงสภาพปกติของเนื้อเยื่อผิว (epithelial tissue) Vitamin A ป้องกันการเกิด Keratinizing Epithelium มาแทนที่เนื้อเยื่อปกติ และช่วยในการสังเคราะห์ Glycoprotein และ Mucopoly Saccharide ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของการหลั่งเมือก (mucus) จากเนื้อเยื่อผิว
  3. เกี่ยวข้องในกระบวนการมองเห็น

ความต้องการของร่างกาย
1 Iu = 0.3 ug of crystalline retinol แต่หน่วยที่ใช้ในปัจจุบันคือ retinol equivalent (RE)
1 RE = 1 ug retinol
= 6 ug B-carotene

Recommended daily allowance(RDA1989)
เด็ก 0-6 เดือน 420 RE
6 เดือน - 1 ปี 400 RE
ผู้ใหญ่ ชาย 1,000 RE
ผู้ใหญ่ หญิง 800 RE
หญิงตั้งครรภ์ 1,000 RE
หญิงให้นมบุตร 1,200 RE

Vitamin A deficiency (ภาวะพร่อง Vitamin A) เมื่อขาด Vitamin A จะพบอาการแสดงดังต่อไปนี้
1. สายตา จะมีอาการตามัวในเวลากลางคืน
2. ผิวหนังและเยื่อบุต่างๆ
- ผิวหนังจะแห้งและมีตุ่มแข็งตามรูขุมขน เรียกว่า follicular hyperkeratosis
- เยื่อบุตาขาวจะแห้ง ถ้าแห้งมากขึ้นจะเห็นเป็นจุดหรือบริเวณสีขาวเทา มักพบทางด้านหางตา เรียกว่า เกล็ดกระดี่ แก้วตา (cornea) เริ่มต้นด้วยแก้วตา ถ้าแห้งเกิดเป็นแผลติดเชื้อง่าย ถ้าทิ้งไว้จะติดเชื้อลึกลงไป ทำให้เกิดแผลเป็น ถ้าเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ จะทำให้แก้วตานุ่มลง อาจเกิดการทะลุและเกิดติดเชื้อทั่วทั้งลูกตาหรือตาบอดได้ในที่สุด
นอกจากนี้ยังพบการติดเชื้อของเยื่อบุทางเดินหายใจ ทางเดินปัสสาวะ และทางเดินอาหาร เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุ ทำให้ไม่แข็งแรง
3. กระดูก การเจริญเติบโตของกระดูกช้าลง
4. ฟัน มีความผิดปกติในการสร้างชั้นเคลือบฟัน (enamel) ทำให้ฟันไม่แข็งแรง

Hypervitaminusis A (ภาวะ Vitamin A เกิน)
อาการพิษจาก Vitamin A พบได้ในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ มี 2 แบบ คือ
1. แบบเฉียบพลัน เกิดจากการได้รับ Vitamin A ขนาดสูงมากครั้ง จะพบมีอาการซึม ปวดท้อง ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เนื่องจากความดันในกะโหลกศีรษะสูง ผิวหนังแดง บวม และลอก

2. แบบเรื้อรัง การได้รับ Vitamin A เกินความต้องการของร่างกายในปริมาณไม่สูงมากนักเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดกระดูกและข้อ ผิวหนังแห้งเป็นสะเก็ด ปากแห้ง แตกเป็นแผล ผมร่วม ตับม้ามโต ท้องเสีย

ควรหยุดทาน Vitamin A ทุกชนิด จะทำให้อาการต่างๆ หายไปอย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่ภายใน 72 ชั่วโมง

ส่วนการทาน carotene มากเกินไป ไม่พบอาการที่เป็นพิษรุนแรง นอกจากมี yellowish discoforation ของผิวหนัง
 
คัดลอกแล้ว
จาก 3 คน
VIEWS
14423
TAGS: