0
ระบุคำค้นหา
HOME
PROMOTIONS
PRODUCTS
TREATMENTS
PROCEDURES
BEAUTY HACKS
Q&A
RC CLUB
ONLINE SHOP
OTHER
What's Hot
Reviews
Branches
Contact Us
News & Activities
Our Doctor
Careers
About Us
Online Shop
|
What's Hot
|
Reviews
|
Branches
|
Contact us
|
Search for:
0
เข้าสู่ระบบ
|
สมัครสมาชิก
HOME
PROMOTIONS
PRODUCTS
TREATMENTS
PROCEDURES
BEAUTY HACKS
Q&A
RC CLUB
HOME
BEAUTY HACKS
ARTICLES
ผื่นผิวหนังจากการแพ้ยา (Adverse Drug Eruptions)
วันที่ 22 ธ.ค. 2553
| โดย
Redlab User
ผลข้างเคียงจากการใช้ยารักษาโรค มีผลต่ออวัยวะหลายระบบทั่วร่างกาย ที่เห็นเด่นชัดจากภายนอก คือ ผิวหนัง
จากสถิติ พบว่า การใช้ยาโดยทั่วไป พบผื่นผิวหนังจากการแพ้ยามากกว่า 1% และพบมากขึ้นเป็น 2%-3% ในผู้ป่วยที่รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล โดยผื่นผิวหนังจากการแพ้ยา มีหลายรูปแบบ และความรุนแรงแตกต่างกันไป
1. Immunologic Hypersensitivity : ภูมิคุ้มกันในร่างกายไวกว่าปรกติ
2. Nonimmunologic Hypersensitivity : สาเหตุอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย
ยาบางชนิดมีปฎิกริยาร่วมกับแสงแดด ทำให้เกิดผื่นบริเวณที่สัมผัสกับแสงแดด
ไม่ทราบสาเหตุ และกลไกการเกิดโรคที่แน่ชัดในแต่ละบุคคล ซึ่งอาจเกิดการระคายเคืองจากการใช้ยาแต่ละชนิดแตกต่างกันไป
รูปแบบผื่นผิวหนังจากการแพ้ยาที่พบบ่อย
Drug Exantheme (39%) : ผื่นผิวหนังอักเสบคล้ายออกหัด หรือออกดอก
Urticaria / angioldema (16%) : ผื่นแดง นูน คัน ตามลำตัว แขน ขา คล้ายผื่นลมพิษ ถ้าเป็นมาก อาจลามทั่วตัว รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
Fixed drug eruption (27%) : ลักษณะเป็นผื่นวงกลม หรือรี ขอบชัด สีเทาเงิน ถ้าเป็นรุนแรงอาจมีตุ่มพองบนผื่น รอยดำจะคงอยู่นาน ถ้ายังคงได้ยาซ้ำอีก ผื่นจะเกิดขึ้นที่เดิมและขยายใหญ่ลามมากขึ้นได้
Erythema Multiforme (5.4%) : ลักษณะเป็นผื่นวงกลม มีจุดสีดำตรงกลาง ล้อมรอบด้วยรอยซีด และรอยแดง เหมือนเป้ายิงปืน
Drugs Cause Photosensitivity : กลุ่มยาที่ไวต่อแสงแดด ทำให้เกิดผื่นบริเวณ Sun-exposed Area ถึงที่หน้า คอ แขนด้านนอก เป็นต้น
หลักเกณฑ์ที่พอจะบ่งชี้ว่าผื่นที่เกิดขึ้นน่าจะเกิดจากการแพ้ยา คือ
ประสบการณ์ในอดีต : สถิติการเกิดผื่นแพ้ยาของยาแต่ละชนิด และรูปแบบที่เฉพาะเจาะจงของผื่นแพ้ยาที่เกิดขึ้น
พิจารณาว่าผื่นนั้นอาจเกิดจากสาเหตุอื่นได้หรือไม่
ระยะเวลาที่กินยาจนกระทั่งเกิดขึ้น : ผื่นแพ้ยามักเกิดภายใน 1-2 สัปดาห์
Dechallenge : หยุดยาผื่นควรจะหาย
Rechallenge : ให้ยาแก้ไปใหม่ ผื่นเกิดขึ้นอีก
การตัดชิ้นเนื้อตรวจทางพยาธิวิทยา
การตรวจเลือด : ระดับเม็ดเลือดขาวสูงขึ้น โดยเฉพาะ Eosinophil > 1,000 | µ| และอาจพบ atypical lymphocytes
ยาใดที่ทำให้แพ้
: ยาทุกตัวสามารถเกิดอาการแพ้ได้เหมือนกัน ที่พบบ่อยได้แก่
กลุ่มยาต้านจุลชีพ เช่น กลุ่ม Pencillin, Sulfa, Tetracycline
กลุ่มยาลดไข้ แก้ปวด เช่น Phenybutagone
กลุ่มยาระงับประสาท, ยากันชัก
กลุ่มยาลดน้ำตาลในเลือด
กลุ่มยาลดความดันโลหิต
ค้นหาสาเหตุ : ชนิดของยาที่ทำให้เกิดผื่น และรีบหยุดยาโดยเร็ว
รักษาตามอาการของโรค :
Antihistamine ลดอาการคัน
Corticostiroids ยาทาแก้อักเสบสเตียรอยด์
สเตียรอยด์ ในรูปแบบยากินและให้ทางเส้นเลือดในกรณีผื่นแพ้ยารุนแรง ที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต และยังไม่สามารถทราบถึงชนิดยาที่แพ้
การดำเนินโรค
หลังจากหยุดยาที่แพ้ : ผื่นมักจะจางลง แต่บางครั้งก็ลามมากขึ้นได้
เมื่อได้รับยานั้นอีกครั้ง : ผื่นมักจะเกิดขึ้นซ้ำได้ แต่ไม่เสมอไป บางครั้งผื่นอาจเกิดขึ้นหลังจากหยุดรับยา 3-5 วัน บางครั้งก็อาจไม่เกิดขึ้นซ้ำอีกได้
ประวัติการแพ้ยา
ผู้ป่วยควรจดจำชื่อยาที่ตนเองแพ้ และแจ้งแพทย์ทราบทุกครั้งที่เข้ารับการรักษา
บุคลากรทางการแพทย์ ควรให้ความระมัดระวังในการเลือกใช้ยา ที่อาจมีปฎิกริยาร่วมกับกลุ่มยาที่ผู้ป่วยแพ้ได้
Gallery
คัดลอกแล้ว
4
จาก 4 คน
VIEWS
40188
TAGS:
ความคิดเห็น
ร่วมแสดงความคิดเห็น
×
Thank You
ขอบคุณค่ะ
ระบบได้รับความคิดเห็นของคุณเรียบร้อยแล้วค่ะ
Related Contents
การกรอผิวด้วยผลึกอลูมิเนียมออกไซด์ในการรักษาฝ้า
ปริมาณครีมกันแดดกับการป้องกันรังสี
ปัญหาน่องใหญ่น่องโตสู่เรียวขาสวย
ปัญหาสิวของวัยรุ่นและวิธีการดูแลรักษาสิว
5 เคล็ดลับง่ายๆ ในการแก้ไขปัญหารูขุมขนกว้าง
ผื่นอักเสบบริเวณผิวมัน Seborrheic Dermatitis
Related Contents
เกลื้อน Tinea Versicolor (Pityriasis Versicolor)
ปกป้องผิวจากริ้วรอย
วิธีเก็บรักษาเครื่องสำอางและเมื่อไหร่ที่ควรทิ้ง
การใช้ยาชาที่ผิวหนัง โดยการใช้กระแสไฟฟ้าเป็นตัวผลักยา
ขอสั้นๆ EP.19 เคล็ดลับการทาครีมกันแดดให้ผิวขาวใสและหน้าไม่แก่เร็ว
G Protein และ Homeostasis ดีต่อผิวคุณอย่างไร
เราใช้คุกกี้ (cookie) เพื่อเพิ่มประสบการณ์และความพึงพอใจของท่านในการรับชมเนื้อหาต่างๆ หากท่านใช้งานเว็บไซต์ของเราต่อ ถือว่าท่านยินยอมให้มีการใช้งานคุกกี้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมท่านสามารถอ่านได้จาก
นโยบายคุกกี้ของเรา
x